Sunday, March 16, 2014

Review: Kanban 101 by Kamon&Kulawat (1)

รูปนี้ผมขโมยมาจากบล็อกคุณปอม ต้นทางอยู่ที่ http://kulawat.tumblr.com/post/75491518534/kanban-101-by-kamon-kulawat

พอดีผมได้เข้าร่วมชั้นเรียน Kanban 101 ของคุณกร Kamon กับ คุณ ปอม Kulawat ในวันที่ 15 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา มาดูว่าชั้นเรียนนี้เขาสอนอะไรบ้าง

- Agile intro
- Flow game
- Da Kanban
- Kiss game
- TPS
- 5s game
- Kanbanopoly game
(ตกอันไหนไปป่าวนะ ถ้านึกได้ค่อยเพิ่มเข้าไปละกัน)
และช่วงสุดท้ายคือการนั่งคุย ถามตอบปัญหา
นอกจากนี้ยังมีการให้เขียนคำถามที่เราอยากรู้ไปแปะไว้บนกระดาน ระหว่างเรียนผู้สอนจะคอยหหยิบมาตอบเป็นระยะๆ ก็อย่างที่เห็นแหละฮะ เป็นเกมไปเกินครึ่ง

พูดถึงกระดาน มันไม่ใช่กระดานธรรมดานะครับ มันเป็นโต๊ะที่จับมาตั้ง ซึ่งมันใช้ได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ อันนี้คุณกรบอกว่าเห็นมาจากอีกที่หนึ่งเขาทำกัน เลยเอามาทำบ้าง ผมเองก็คิดว่าเดี๋ยวจะไปใช้โต๊ะตัวเองทำแบบนี้บ้าง อาจจะต้องตบตีกับแม่บ้านบ้างก็ไม่เป็นไร

เริ่มที่ส่วนแรก คือ Agile intro ตัวผมก็ได้ฟังมาหลายครั้งแล้ว ผมคิดว่าคนในชั้นเรียนหลายๆคนก็คงผ่านมาแล้วเช่นกัน แต่พอฟังจากคุณกรครั้งนี้ก็รู็สึกว่าเป็นรสชาติที่แปลกใหม่ดีนะ (ผมไม่เคยฟังคุณกรบรรยายแนวๆ Agile intro มาก่อน)  Agile manifesto 4 ข้อ และ Principle ทั้ง 12 ข้อ รวมไปถึงเหล่าผู็ให้กำเนิดทั้งหลายนั้นนั้นยังพูดถึงอยู่ แต่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว คุณกรพาเราลงไปลึกกว่านั้น นั้นคือย้อนกลับไปมองถึงสภาพสังคม และปัญหาในยุคนั้น (ช่วงปี 2000) เทคโนโลยี ฯลฯ สรุปว่าเป็น Agile intro แบบคุณกรจริงๆอ่ะ
พอจบแล้วก็มีเกมมาให้เล่นครับ เกมนี้ชื่อว่า Flow เกม
เกมนี้ทุกคนตั้งชื่อเล่นให้กับมันว่า"เกมไม้ขีด" เพราะอุปกรณ์หลักของมันคือ ไม้ขีดใช้แทนงานที่มันจะถาโถมเข้ามาหาทีมเราประหนึ่งฝูงซอมบี้ และลูกเต่๋า ใช้ทอยเพื่อดูว่าในแต่ละวันเราทำงานได้กี่ชิ้น กระดาษ Post-it รุ่น Super sticky เอาไว้แปะตรงหน้าสมาชิกแต่ละทีมเพื่อบอกว่าตำแหน่ง และกระดาษให้ PM เอาไว้จดว่าผ่านมากี่วันแล้ว
ผมไม่ได้ถ่ายรูปเอาไว้ เอาเป็นว่าผมวาดให้ดูก็แล้วกันนะ

วิธีเล่นก็คือให้ทุกตำแหน่ง (ยกเว้น PM หน้าที่ของ PM คือคอยจดกับบอกว่าผ่านไปกี่วันแล้ว) ทอยลูกเต๋าของตัวเองถ้าทอยได้แต้มสูง ก็เอาไม้ขีดผ่านตัวเองไปได้มาก ไม้ขีดนี้ก็จะไปกองอยู่ตรงหน้าคนถัดไป ก็คือเป็นการจำลองการทำงานของทีมทำ Software นั่นแหละครับ กว่างานจะผ่านมือ DEV ก็อาจจะเป็นวันที่ 3 กว่าจะส่งมอบงานชิ้นแรกได้ก็เป็นวันที่ 5
ดูจากในรูป คือไม้ขีดอันทีผมถมดำไว้มาถึงตำแหน่ง Done ได้ถือว่าจบรอบ ก็ให้เริ่มรอบต่อไป โดยที่รอบนี้แต่ละคนเริ่มจะมีไม้ขีดค้างอยู่ตรงหหน้ากันบ้างแล้ว รอบนี้ปรากฏว่าใช้เวลามากขึ้นเป็น 7-8 วัน

รอบต่อมาก็เพิ่มความมันส์ด้วยการบอกว่า Test ต้องทำทุก Platform ก็คือ จำนวนแต้มที่ทอยได้ให้หารสอง Oh shit งานก็มากองที่ Test น่ะสิ(ชีวิตจริงชัดๆ) รอบนี้กว่าจะจบก็กินเวลาไปสิบกว่าวัน นี่ขนาดผมทอยได้ 6 แต้มหลายๆครังแล้วนะ ;_;

เราเล่นกันทั้งหมด 4 รอบ ปรากฏว่ายิ่งทำงานไป จำนวนวันก็ยิ่งเพิ่ม (ผมไม่ได้จดจำนวนตัวเลขที่แน่นอนเอาไว้) ที่นีคุณกรก็ให้เรามา dicusss กันว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน ก็ว่ากันไป จะเพิ่มคนบ้าง เอาคนออกบ้าง(ผมเสนอไปว่าเอา Test ออกสิ ฮิฮิ) ให้ PM มาช่วยงานบ้าง ฯลฯ

ต่อมาเรากก็ได้เริ่มเล่นเกมใหม่ คราวนี้ มีการกำหนด จำนวน WIP(Work In Progress) ของแต่ละคนเข้าไปด้วย เราตกลงกันที่ 3 ตัวเลขมาจากไหน ก็มาจากการที่ Tester ทำงานได้มากที่สุดแค่วันละ 3 ไงครับ T-T
ตกลงกันได้แล้วก็เรื่มเล่นใหม่ โดยแต่ละคนจะทำงานได้ไม่เกินวันละ 3
ปราฏว่าจำนวนวันที่ใช้ในแต่ละรอบคือ 5-6 วัน แค่ใส่ WIP !?

เริ่มจะเก็ทละ คุณกรมาอธิบายต่ออีกว่า WIP มันเป็นเรื่องของแต่ละคน(หรือแต่ละทีม/ตำแหน่ง) ต้องไปกำหนดกันเอาเอง และมันปรับเปลี่ยนได้เสมอตามที่เห็นว่าสมควร ถ้าตั้งไว้น้อยไป ก็จะมีคนว่างเยอะ ถ้ามากไป ก็จะมีงานค้างและมีโอกาสจะกองอยู่ที่คนใดคนหนึ่งเยอะ (อย่างเช่นในตัวอย่างก็คือ Tester)

ผมว่าถ้าจะไปเล่าต่อก็ไม่ต้องพูดกันมากครับ ให้เล่นเจ้า Flow game นี่แหละครับเห็นภาพแน่นอน

มีคำถามว่า แล้วคนว่างจะทำยังไง
คุณกรบอกว่าทำได้สองอย่างคือ ปล่อยให้ว่างต่อไป หรือ เข้าไปช่วยเหลือคนอื่นๆ (มีเสริมในตอนท้ายว่า เราชอบถนนที่ว่างๆ หรือ ถนนที่รถแน่น มากกว่ากัน)

ต่อมาก็เป็นการบรรยายของตัว Kanban แต่ผมว่าผมเขียนยาวไปละ เท่านี้ก่อนดีกว่าเนอะ












2 comments:

  1. ละเอียดมากครับ อ่านแล้วนึกได้เป็น flashback เลย

    ReplyDelete
  2. ปูเสื่อรอภาค 2 ครับ

    ReplyDelete