Saturday, March 29, 2014

Review: Kanban 101 by Kamon&Kulawat (4)

Part สุดท้ายของชั้นเรียนนี้คือเกมที่เรียกว่า Kanbanopoly

ก่อนอื่นให้จับกลุ่มตามนี้

Customer(ลูกค้าผู้น่ารัก) 4 คน
PO 1 คน
DEV 4 คน ทำงานเป็น Pair
QA 2 คน
Ops 2 คน

พอเริ่มก็ให้ ลูกค้าทุกคนช่วยกันเขียน feature ขึ้นมา 10 ชิ้นลงบน Post-it ( เราจะทำ Selfie app กัน)
จากนั้น มีการกำหนดให้ลูกค้าทุกคนมีเงินอยู่ในมือคนละสองล้าน(หรือสามล้าน จำไม่ได้) ให้เลือกว่าจะลงทุนกับ feature ไหนมากที่สุด
แล้วก็เรียกทุกคนมาประเมินขนาดของแต่ละ  feature (เจอการ์ดนึงประมาณคลิกเดียวทำให้เสร็จทุกอย่าง Epic มาก แล้วลูกค้าอยากให้ทำมากที่สุดด้วย แต่ละท่านสวมบทบาทเป็นลูกค้าได้แนบเนียนมาก อินเนอร์สุดๆอ่ะ)

เสร็จมามากำหนด WIP ของแต่ละทีม แล้วก็เขียนลงในบอร์ด หน้าตาประมาณนี้...มั้ง
วันแรก PO เอาของเข้า จบวันแรก
วันที่ 2 Dev เอางานไปทำ  ที่เอาเข้าได้แค่ 2 ชิ้นเพราะกำหนดให้ทำงานเป็น pair ซึ่งทีม Dev มี 4 คนก็ได้2คู่ คนอื่นงานยังไม่ถึง เลยไม่ต้องทำอะไร จบไปอีกวัน
วันที่ 3 เริ่มมีการเอางานไปทำแล้ว PO จึงเอางานเข้าไปเพิ่ม Dev จะเริ่มทำงาน
การทำงานก็คือการทอยลูกเต๋า หน้าที่ออกคือสิ่งที่ทำได้ในแต่ละวัน
ก็จะมีเหตุการณ์ต่างๆเช่น
 - 1 แต้ม = วันนี้ Productive ดีมาก งานเสร็จหมด ก็เลื่อนงานได้
 - 2 แต้ม = แฟนบอกเลิก เขียนโค้ดไม่ออกซักกะตัว ก็ยังเลื่อนงานไม่ได้
ประมาณเนี้ยอ่ะครับ ผมจำของจริงไม่ได้หรอก แหะๆ
กลับมาต่อที่เกม สมมติว่าฟลุคมากทอยได้ 1 แต้มทั้งสองคู่เลย Dev ก็สามารถเลื่อนงานของตัวเองไปไว้ที่ช่องทางขวาได้ เพื่อแสดงว่า "เสร็จแล้วนะ" ให้ทีม QA สามารถรับงานไปทำได้ในวันถัดไป
 
วันที่ 4 เริ่มมีช่องว่างแล้ว PO จึงเอางานใส่เข้าไปได้อีก Dev ก็เอางานใหม่มาทำต่อได้ และ QA ก็รับงานไปทำได้
วันที่ 5 ทีม Dev และทีมQAผ่านฉลุยเหมือนกันงานก็จะไปรอให้ Ops เอาไป deploy ( QA ก็ทำงานโดยการทอยลูกเต๋าเหมือนกัน )
พอจะเข้าใจแล้วใช่มั้ยฮะ ถ้างานมันผ่านง่ายๆ เราคงไม่ต้องมาคิดหาวิธีแก้ปัญหากันหรอกเนอะ
เราเล่นกันต่อแล้วพบว่าปัญหามันเริ่มจะเกิด เมื่อทำงานไม่เสร็จ (ทอยเต๋าได้ผลลัพธ์ที่แย่ ซึ่งเกมนี้ออกแบบให้ผลลัพธ์ที่แย่มีโอกาสออกมากกว่าผลลัพธ์ที่ดี ชีวิตจริงสุดๆ)

เกมเปิดโอกาสให้เราได้แก้ปัญหานี้โดยที่แต่ละทีมสามารถเข้าไปช่วยเหลือคนที่ติดปัญหาอยู่ได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานเสร็จให้มีมากขึ้น (เลือกทำรอบละ 1 อย่างนะครับ เอางานเข้า, ทำงานของตัวเอง หรือ ไปช่วยคนอื่น) เกมก็เริ่มสนุกมากขึ้น รอบหลังๆ PO กับลูกค้า เค้าคงเห็นว่างานมันไม่ไปไหนซักที (น่าจะเป็นผลจากการ Visualize) ก็เลยเข้ามาช่วยด้วย สนุกสนานมาก กว่าจะทำงานให้เสร็จได้หมด เล่นกันอยู่เป็นชั่วโมง
ในการทำงานจริง เราอาจจะไม่มีความรู้ที่จะเข้าไปช่วย ให้เลือกเอาว่าจะนั่งว่าง (งานเต็ม wip อยู่) หรือไปซื้อกาแฟ หรือเข้าไปมุง เข้าไปแพร์ ฯลฯ ให้ไปลองหาคำตอบของเราเองครับ

ผมอาจจะบรรยายถึงความยอดเยี่ยมได้ไม่ดีนัก แต่นี่คือไม้เด็ดของชั้นเรียนนี้ครับ

เพิ่มอีกหน่อย card ไม่สามารถดึงถอยหลังได้นะครับ อย่างเช่น ถ้า test ไม่ผ่าน ก็ต้องไปตามโปรแกรมเมอร์มาทำให้มันผ่าน ไม่ใช่ส่งกลับไปอยู่ในเลน develop

No comments:

Post a Comment