Sunday, May 17, 2015

อย่าเพิ่งรีบเก็บโต๊ะตอนกำลังกิน

สวัสดีครับ วันนี้มาฟังพี่ปุ๋ย เจ้าของ somkiat.cc แบ่งปันเรื่องการเขียนบล็อก

มีสิ่งที่ดีเก็บกลับมาใช้ได้หลายอย่าง แต่ที่อยากนำมาแบ่งปันในบทความนี้คือเรื่องวิธีการเขียน

พี่ปุ๋ยแนะนำว่า เขียนให้เสร็จไปก่อนแล้วค่อยกลับมาดูเพื่อแก้ไขมันทีหลัง

สาเหตุสำคัญเลยที่เวลาเรากำลังพยายามเขียนบล็อกแล้วล้มเหลวคือ "เขียนไปแล้วแก้ไป"

พิมพ์ไปสองสามตัว แล้วก็ย้อนกลับมาดู เอ๊ะ มันดูดีมั้ยนะ แก้ตรงนี้หน่อยดีกว่า ประโยคนี้จะโดนคนด่ามั้ย เฮ้ยอันนี้พิมพ์ผิด อ้าวอ่านไม่รู้เรื่อง ฯลฯ  ส่วนใหญ่แล้วจะกลัวไปเองด้วยนะ แล้วก็พิมพ์ๆแก้ๆมันอยู่อย่างนั้น ถ้าโชคดีก็เข็นจนเสร็จได้

แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผมจะเลิกเขียน แล้วก็ปล่อยให้มันอยู่สถานะ draft ไปทั้งอย่างนั้น

แน่นอนว่าไอ้ draft พวกเนี้ย เราไม่เคยเอามาเขียนต่อจนมันเสร็จเลย!

ขโมยรูปมาจาก facebook ของพี่ปุ๋ย https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153321436038588&set=a.424501298587.197700.590338587&type=1&permPage=1


เรื่อง draft นี่พี่ปุ๋ยแกแนะนำให้ลบทิ้งไปให้หมดครับ เพราะถ้าคุณทิ้งไว้นาน ก็คงลืมไปหมดแล้วล่ะ ว่าจะเขียนต่อยังไง

ที่ไอ้คำแนะนำที่ว่าให้เขียนๆไปก่อนเนี่ย ก็มีอยู่ใน Online course ของ Coursera เหมือนกันครับ ในชั้่นเรียน Learning how to learn ซึ่งก็มีนักเขียนมือโปรมาแชร์เกี่ยวกับวีธีการเขียนหนังสือเหมือนกัน คำแนะนำก็ประมาณนี้เลย คือ

"Don't clean table while you are dining."

ขออภัย ผมจำประโยคแบบเป๊ะๆไม่ได้ แต่ใจความก็ราวๆนี้แหละ ซึ่งก็เป็นที่มาของชื่อบทความนี้นั่นเองครับ ถ้าสนใจก็ไปลงเรียนกันได้ครับ เป็นชั้นเรียนที่ดีมากๆ เลยครับ แนะนำๆ

คำแนะนำนี้สามารถนำไปปรับใช้กับการเขียนโค้ดได้เหมือนกันนะครับ

ขอยกขั้นตอนของ TDD มาแปะ มีอยู่ว่า


  • Make it work.
  • Make it right.
  • Make it fast.


การเขียนให้เสร็จไปก่อนค่อยกลับมาแก้เนี่ย ก็คือ Make it work หรือสรุปอีกทีก็คือการทีเราเลือกแก้ทีละปัญหานั่นเองครับ

ตรงนี้มีคำอธิบายเพิ่ม +Chokchai Phatharamalai เคยเล่าให้ฟัง ก็คือตอนที่เราเขียนกับตอนที่เราแก้เนี่ย มันใช้สมองคนละซีกกันครับ ตอนเขียนทีแรก เราใช้สมองด้านเหตุผล แต่ตอนที่แก้ไขหรือตกแต่ง ใส่รูป ฯลฯ เราใช้ด้านอารมณ์ ซึ่งตรงนี้สมองของเราจะมีจังหวะของมันครับ เรื่องพวกนี้มีอยู๋ในชั้นเรียน Learning how to learn เช่นกัน

ผมว่าแนวคิดนี้นำไปปรับใช้ได้กับหลายๆอย่างเลยนะครับไม่ใช่แค่การเขียน ลองดูครับผม

No comments:

Post a Comment